วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

รู้จักกับยาเคมีบำบัดกลุ่มต่างๆกันเถอะ

ยาเคมีบำบัด (Cytotoxic agents)
โรคมะเร็ง (Cancer) เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงมีอยู่หลากหลายมาก ในการรักษาโรคมะเร็งนั้น ยาเคมีบำบัดที่มีพิษต่อเซลล์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษามาก ซึ่งยาเคมีบำบัดดังกล่าวปัจจุบันเราสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะการออกฤทธิ์ต่อวัฏจักรของเซลล์ (Cell cycle) ได้แก่
1.      Cell cycle-specific cytotoxic drugs เช่น ยากลุ่ม Nitrogen mustard, anthracyclin เป็นต้น
2.     Cell cycle-non specification drugs เช่น ยากลุ่ม Taxanes, Vinca alkaloids เป็นต้น
                                                                        รูปที่1 Cell cycle
แต่ถ้าเราจะแบ่งตามคุณสมบัติทางชีวเคมี (Biochemical) จะสามารถแบ่งได้ 6 กลุ่ม ได้แก่
1.     Alkylating agents
a.      Nitrogen mustard : Cyclophosphamide , Ifosfamide
b.      Platinum analogues : Cisplatin, Carboplatin, Oxaliplatin
2.     Antimetabolite
a.      Folate antagonist : Methotrexate,Pemetrexed
b.      Purine analogues : Mercaptopurine (6-MP),Thioguanine (6-TG),Fludarabine\
c.      Pyrimidine analogues : 5-FU,Cytarabine,Gemcitabine,Capecitabine
3.      Enzyme inhibitors
a.      Antibiotics : Mitomycin C
b.      Anthracyclin : Doxorubicin,Idarubicin,Mitoxantrone,Epirubicin
4.     Anti-microtubules
a.      Vinca alkaloids : Vincristine,Vinblastine,Vinorelbine
b.      Taxanes : Paclitaxel,Docetaxel
5.     Hormonal agents
a.      Antiandrogens : Flutamide,Bicalutomide
b.      SERM : Tamoxifen
c.      Aromatase inhibitors : Letrozole,Anastrozole,Exemestane
6.      Miscellaneous
a.      L-Asparaginase
b.      Hydroxy urea

การรักษาโรคมะเร็ง
การรักษาโรคมะเร็งนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
1.     การผ่าตัด (Surgery) เป็นการรักษาที่มุ่งเน้นการตัดเอาก้อนเนื้อออกจากบริเวณที่เป็น ซึ่งเป็นการรักษาแบบเฉพาะที่ (local treatment) ในบางครั้งการผ่าตัดนั้นจะกระทำเพื่อนำเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เป็นโรคมาตรวจเพื่อดูลักษณะทางเซลล์วิทยา และกำหนดระดับขั้นของโรคมะเร็ง
2.   การฉายรังสีรักษา (Radio therapy) เป็นการรักษาแบบเฉพาะที่เช่นกัน เหมาะกับการรักษามะเร็งที่มีก้อนที่กำลังโตอย่ารวดเร็วไม่สามารถผ่าตัดได้
3.    การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการรักษาที่หวังผลแบบ Systemic อาจจะแบ่งได้เป็น 2 แบบ
a.      Neo-adjuvant chemotherapy : เป็นการให้ยาเคมีบำบัดก่อนที่จะทำการผ่าตัด เพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งให้เล็กลงเพื่อใหสามารถผ่าตัดได้สะดวก
b.      Adjuvant chemotherapy : เป็นการให้ยาเคมีบำบัดหลังจากการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกไปแล้ว เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังอาจหลงเหลืออยู่จากการผ่าตัด (Micrometastase)
ในการให้ยาเคมีบำบัดนั้น หากจะแบ่งตามลักษณะของโรคมะเร็งแล้วจะสามารถแบ่งได้ 2 แบบ ได้แก่
1.      Solid tumor ในมะเร็งที่เป็นก้อนเช่น Breast cancer,colorectal cancer การให้ยาเคมีบำบัดจะมีกำหนดการให้ยาที่แน่นอนทั้งจำนวนครั้งและระยะเวลาในการมารับยาซ้ำ เช่น ให้ยาทั้งหมด 6 ครั้ง (cycles) ห่างกันครั้งละ 3 สัปดาห์เป็นต้น
2.       Liquid tumor มะเร็งที่เป็นของเหลวในที่นี้ได้แก่ มะเร็งในระบบเลือดทั้ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemias) และ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphomas) นั้น เราจะให้ยาเคมีบำบัดตามช่วงระยะเวลาและการตอบสนองต่อยาของโรค เช่น
Acute Leukemia จะแบ่งการให้ยาเป็น 3 ระยะ (phases) ได้แก่
a.           A. Induction phase : ให้ยาเคมีบำบัดที่ค่อนข้างแรงและขนาดสูง เพื่อทำให้โรคเข้าสู่ระยะสงบ(remission)
b.         B. Consolidation phase : ให้ยาเคมีบำบัดซึ่งอาจจะเป็นสูตรยาเดิมแต่ในขนาดที่ลดลงมา หรือสูตรยาอื่น เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังอาจหลงเหลืออยู่ร่างกายให้หมดไป ไม่ให้โรคเกิดความรุนแรง (progression) ขึ้นอีก
c.      Maintainance phase : ให้ยาเคมีบำบัดจำนวนน้อยๆแต่ต่อเนื่องกันในระยะเวลานานเพื่อควบคุมไม่ให้โรคกลับมาเป็นซ้ำ (relapse) ได้อีก
การให้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ยาหลายๆตัวในสูตรเดียวกัน ซึ่งการให้ยาหลายตัวในสูตรเดียวกันเราเรียกว่า Regimen จุดประสงค์คือต้องการที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งในทุกระยะของวัฏจัรเซลล์ (cell cycle) ซึ่งแต่ละสูตรยานั้นได้มาจากการทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการและผู้ป่วย (Clinical trial) โดยเราสามารถจะเลือกใช้ยาแต่สูตรให้เหมาะกับโรคมะเร็งในแต่ละระยะของโรคได้ (stage) และสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่เป็นสากลซึ่งที่นิยมที่สุดนั้นจะยึดตามแนวทาง (Guideline) ของ National Comprehensive Cancer Network (NCCN;www.nccn.org)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น