วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Antioxidants and Cancer Prevention

Antioxidants and Cancer Prevention
Antioxidants คืออะไร(1)
Antioxidants เป็นสารที่ปกป้องเซลล์จากการทำลายโดยโมเลกุลที่ไม่เสถียร หรือรู้จักกันในชื่อของ อนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งการทำลายเซลล์ของ free radical นั้นสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้น antioxidants หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สารต้านอนุมูลอิสระ สามารถยับยั้งการถูกทำลายของเซลล์จากอนุมูลอิสระได้ สารต้านอนุมูลอิสระมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น beta-carotene, lutein, Selenium, vitamin A, C, E และ zinc เป็นต้น
Antioxidants สามารถป้องกันมะเร็งได้จริงหรือไม่(1)
เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางห้องปฏิบัติการ การเพาะเชื้อ และการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า antioxidants อาจจะป้องกันหรือชะลอการดำเนินไปของโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามข้อมูล clinical trial ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก
Antioxidants สามารถป้องกันมะเร็งได้อย่างไร (1)
Antioxidant ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระ (free radical) เป็นโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนวงนอกไม่ครบจึงไม่เสถียร และสามารถทำปฏิกิริยาได้มากกว่าโมเลกุลที่เสถียร ทำให้ต้องไปแย่งอิเล็กตรอนจากโมเลกุลตัวอื่น จึงส่งผลต่อเซลล์ภายในร่างกายได้ ซึ่งอนุมูลอิสระนั้นสามารถพบได้จากสิ่งแวดล้อมรวมถึงควันบุหรี่ ในมนุษย์รูปแบบสารอนุมูลอิสระที่พบได้มากสุด คือ ออกซิเจน(O2) ซึ่งโมเลกุลออกซิเจนที่มีประจุพยายามแย่งอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่น จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการทำลาย DNA และโมเลกุลอื่นๆและนำมาซึ่งโรคมะเร็งได้  ดังนั้น Antioxidant จึงเรียกว่า mopping up free radical หมายถึงตัวที่ทำให้อนุมูลอิสระไม่มีประจุอิเล็กตรอนและป้องกันอนุมูลอิสระในการแย่งชิงอิเล็กตรอนจากโมเลกุลตัวอื่น
Antioxidant สามารถพบได้ในอาหารประเภทใดบ้าง(1,2)
Antioxidant สามารถพบได้มากในผักและผลไม้รวมถึงถั่ว ธัญพืช เนื้อหมู ไก่ ปลา แบ่งเป็นประเภท ดังนี้
v  Beta-carotene ซึ่งพบได้มากในอาหารหลายชนิดที่มีสีส้มรวมถึงมันเทศ แครอท ผักใบเขียวบางชนิด เช่น ผักโขม คะน้า ซึ่งมี beta-carotene มาก
v  Lutein ซึ่งเป็นที่ทราบว่ามีความสำคัญต่อสุขภาพตา ซึ่งพบมากในผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า เป็นต้น
v  Lycopene พบมากในมะเขือเทศ แตงโมฝรั่ง มะละกอ แอปริคอท เป็นต้น
v  Selenium พบมากในอัลมอนด์ เห็ดต่าง ๆ กระเทียม ส้ม องุ่น  กะหล่ำปลีและหัวผักกาด เป็นต้น
v  Vitamin A เช่น vitamin A 1 (retinol), vitamin A 2 (3,4-didehydroretinol) และ vitamin A 3 (3-hydroxy-retinol) อาหารที่สามารถพบ vitamin A 3 ได้มาก เช่น ตับ มันเทศ นม ไข่แดง  เป็นต้น
v  Vitamin C หรือ ascorbic acid พบมากในผักและผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะผักสด ใบส่วนยอดและเมล็ดที่กำลังจะงอก ได้แก่ ฝรั่ง มะขามป้อม ยอ และมะรุม เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบในเนื้อวัว ไก่ ปลาด้วย
v  Vitamin E หรือที่รู้จักในชื่อ alpha-tocopherol พบมากในอัลมอลล์ น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง และยังสามารถพบในมะม่วง ถั่ว บล็อกเคอลี่ เป็นต้น
v  สังกะสี  (Zinc) มีส่วนสำคัญในกระบวนผลิตสารพันธุกรรม (RNA และ DNA)  ช่วยให้ร่างกายจับวิตามินเอไว้ในกระแสเลือด  พบมากในขิง  เมล็ดฟักทอง  กะหล่ำปลี  แครอท  แตงกวา  และส้ม เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรอื่น ๆที่มีฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็ง เช่น พริกไทย ใบแป๊ะก๊วย  เกากีจี้  โสมเกาหลี  หญ้าปักกิ่ง  และเห็ดหลินจือ เป็นต้น
ตัวอย่างการศึกษาทางคลินิกถึงผลของ antioxidant ต่อโรคมะเร็ง
1.จากรายงานการศึกษาของ Lippman SM และคณะ(3) ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อทดสอบว่าการได้รับ Selenium, Vitamin E สามารถป้องกันการเกิด Prostate Cancer ได้หรือไม่ โดยทำการศึกษาแบบ randomized, placebo-controlled trial ในอาสาสมัครชายสุขภาพดีที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจำนวน 35,533 ราย ที่ไม่น่าสงสัยว่าจะเป็น prostate cancer ซึ่งผลการศึกษาทดลองพบว่า การใช้ selenium หรือ vitamin E เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกัน ในขนาดและรูปแบบที่ใช้ในการศึกษา ไม่สามารถป้องกันการเกิด prostate cancer ในอาสาสมัครผู้ชายได้
2.จากรายงานการศึกษาของ Gaziano JM และคณะ(4) เพื่อทดสอบว่าการใช้ Vitamins E และ Vitamins C แบบ long term สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งอื่นๆในผู้ชายได้หรือไม่ โดยทำการศึกษาแบบ randomized, double-blind, placebo-controlled factorial trial เป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี ในอาสาสมัครแพทย์เพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า การใช้ vitamin E และ vitamin C supplementations สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งอื่นๆ ได้
3.จากการศึกษาแบบ systematic review และ meta-analysis ของ Bardia A และคณะ(5) พบว่า
v  Beta carotene  มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งในผู้ที่สูบบุหรี่  และเพิ่มแนวโน้มการเสียชีวิตจากมะเร็ง
v  Selenium มีความสัมพันธ์กับการลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งในผู้ชาย แต่ไม่มีผลต่อผู้หญิง และสามารถลดการเสียชีวิตจากมะเร็งได้
v  Vitamin E ไม่มีผลต่อการเกิดอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็ง การเสียชีวิตจากมะเร็ง
4.จากรายงานการศึกษาของ Bairati I และคณะ (6) พบว่าหลังจากใช้เวลาศึกษาติดตามผู้ป่วย head และ neck cancer stage I หรือ II เป็นระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 52 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบผู้ที่ได้รับ α – tocopherol กับผู้ที่ได้ยาหลอก พบว่าผู้ป่วย ที่ได้รับ α – tocopherol มีอัตราการเกิด second primary cancer ระหว่างช่วงที่ได้รับ α – tocopherol สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก แต่หลังจากที่หยุด α – tocopherol แล้วพบว่ามีอัตราการเกิด second primary cancer ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
  สรุป
ปัจจุบันนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมาก โดยเฉพาะพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ผู้คนทั่วไปหรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือเป็นมะเร็งอยู่แล้วควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยผู้ป่วยมะเร็งควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษ ควรเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายดังที่กล่าวมา แม้ว่าการเลือกรับประทานดังกล่าวจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งหรือไม่ให้ลุกลามมากขึ้น แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือมีชีวิตที่ยาวนานขึ้นได้

Reference :
1.        Antioxidants and Cancer Prevention: Fact Sheet. U.S. Department of health and human services. National Institutes of Health. 2004
2.        วันเพ็ญ  บุญสวัสดิ์. พืช  ผัก  ผลไม้ สมุนไพร  ต้านมะเร็ง [homepage on the Internet]. Data unknown [cited 2011 Aug 25]. Available from: http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=79&typeID=19
3.        Lippman SM, Klein EA, Goodman PJ, et al. Effect of selenium and vitamin E on risk of prostate cancer and other cancers: the Selenium and Vitamin E Cancer Prevention Trial (SELECT). JAMA. 2009;301(1):39-51.
4.        Gaziano JM, Glynn RJ, Christen WG, et al. Vitamins E and C in the prevention of prostate and total cancer in men: the Physicians’ Health Study II randomized controlled trial. JAMA. 2009;301(1):52-62.
5.        Bradia A, Tleyjeh M, Cerhan JR.Sood AK, Limburg PJ,Erwin PJ et al. Efficacy of Antioxidant Supplementation in Reducing Primary Cancer Incidence and Mortality: Systematic Review and Meta-analysis. Mayo Clin Proc. 2008;83(1):23-34.
6.        Bairat I, Meyer F, Gélinas M, Fortin A, Nabid A, Brochet F et al. A Randomized Trial of Antioxidant Vitamins to Prevent Second Primary Cancers in Head and Neck Cancer Patients. J Natl Cancer Inst. 2005;97(7):481-8.

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis)


เยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis)

          ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis) จะมีอาการเยื่อบุช่องปากบวมแดง มีแผลในช่องปาก ปวดที่แผล มีกลิ่นปาก น้ำลายออกมาก เคี้ยวและกลืนอาหารได้ลำบาก บางครั้งอาจพบปัญหาการหายใจลำบากเนื่องจากมีเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ รวมทั้งอาจมีอาการเหงือกและลิ้นมีฝ้าขาวจากเชื้อรา สามารถแยกชนิดตามสาเหตุการเกิด ได้ดังนี้
1. Contact stomatitis คือการเกิดปฏิกิริยาไวเกินของเยื่อบุในปากต่อสารกระตุ้นที่สัมผัส สาเหตุที่พบบ่อยคือ ยาสีฟัน ยาอมบ้วนปาก ยาอมฆ่าเชื้อ ลิปสติก สารปรุงแต่งในอาหาร และหมากฝรั่ง อาจเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสระยะเวลาเพียงไม่กี่วันจนถึงปี
2. Ulcerative stomatitis หรือ Mucositis คือการเกิดแผลเปื่อยในช่องปาก อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างรับยา cytotoxic drug ได้แก่ยา Epirubicin(9-59%), doxorubicin(5-41%), Docetaxel(19-53%), Capecitabine(22-25%), Topotecan(18%), Paclitaxel(15%), Gemcitabine(10-14%), Methotrexate(>10%), Fluorouracil, Daunorubicin(>10%), Cyclophosphamide(>10%), Vinblastine(less common) และ Carboplatin(1%) นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากยาอื่นๆ เช่น NSAIDs, gold compound และ sulfasalazine แต่มักจะหายไปโดยเร็วเมื่อหยุดใช้ยา
3. การติดเชื้อ เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ เชื้อไวรัส Herpes simplex และเชื้อรา Candida albican พบในผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นโรคมะเร็งเม็ดเลือด หรือผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัด เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
4. Denture stomatitis พบได้ 24-60% ในผู้ที่ใส่ฟันปลอม อาการคือมีเลือดออกและบวมที่เยื้อเยื่อรองรับฐานฟันปลอม รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ปากแห้ง และการรับรสไม่ดี
การรักษา
-    ทำความสะอาดช่องปากด้วยน้ำเกลืออ่อนๆ หรือ sodium bicarbonate solution
-    ยาระงับปวดเฉพาะที่ (topical anesthetic) ได้แก่ 0.15% Benzydamine hydrochloride-Difflam หรือ 2% viscous
lidocain อมกลั้วปาก หรือ 5% Lignocaine ointment ทาบริเวณแผล หรือ Benzocaine lozenges ใช้อม
-    สเตียรอยด์แบบทาเฉพาะที่ (topical steroids) ได้แก่ 0.1% triamcinolone acetonide cream or ointment
ทาวันละ
3 ครั้ง หลังอาหาร
-    ยาต้านเชื้อไวรัสเฉพาะที่ (topical antiviral agents) ได้แก่ 5% Acyclovir ointment ทาแผลวันละ 5 ครั้ง
-    ยาต้านเชื้อราเฉพาะที่ (topical antifungal agents) ได้แก่ Nystatin oral suspension (100,000 U/ml) อมกลั้วปาก 2-5 ml นาน 2 นาที วันละ 4 ครั้ง แนะนำให้ใช้นาน 10-14 วัน
          เอกสารอ้างอิง
1.    Chisholm MA, Wells BG, Schwinghammer TL, Malonep PM, Kolesar JM, Rotschafer JC, et al. Pharmacotherapy principle & practice. United States of America: McGraw-Hill; 2008.
2.    Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook with international trade names index. 19th ed. Ohio: Lexi-comp; 2010-2011.
3.    ธิติมา  วัฒนวิจิตรกุล, นารัต เกษตรทัต, สมฤทัย ระติสุนทร, สาริณีย์ กฤติยานันต์, สิริพรรณ พัฒนาฤดี, สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์.
คู่มือการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
4.    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. ประเทศไทย: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2010. Untitled document; [16 มิถุนายน 2530]; 2 หน้า.
ที่มา:
http://nu.kku.ac.th/site/250262/nursing2/nursing1.htm
5.    ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. แนวทางการรักษาโรคของเนื้อเยื่ออ่อนที่พบบ่อยในช่องปาก [อินเทอร์เน็ต]. ประเทศไทย: ทันตแพทยสภา;1998 [วันที่อ้างถึง 16 มิถุนายน 2554]. ที่มา: www.dentalcouncil.or.th/public_content/cpg/13.pdf

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

เวปบอร์ดเปิดให้บริการแล้ว

ขณะนี้ทางทีมฯได้จัดทำเวปบอร์ดขึ้นมาเพื่อให้สามารถติดต่อหรือสอบถามปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับยาเคมีบำบัด รวมทั้งการดูแล รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งแล้ว
ท่านสามารถเข้าใช้บริการเวปบอร์ดได้ผ่านทางลิงก์ด้านขวามือนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันมะเร็งโลก (World Cancer Day) 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปี


       องค์การอนามัยโลกร่วมกับสหภาพต่อต้านมะเร็งระหว่างประเทศ ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันมะเร็งโลก (World Cancer day) เพื่อกระตุ้นเตือนให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนได้ตระหนักถึงการป้องกัน มะเร็งตั้งแต่วันนี้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก
  ประวัติความเป็นมา 
              International Union Against Cancer (UICC) ได้ริเริ่มแคมเปญมะเร็งโลกในปี 2005 เพื่อตอบสนองต่อกฎบัตรของกรุงปารีสของ 2000 กฎบัตรของปารีสเลือก 4 กุมภาพันธ์เป็นวันมะเร็งโลก ตั้งแต่ปี 2006 มีการประสานงาน UICC World Cancer Day กิจกรรม, การสนับสนุนจากสมาชิกคู่ค้าขององค์การอนามัยโลก, International Atomic Energy Agency, และองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ แคมเปญเน้นว่า 40% ของโรคมะเร็งสามารถป้องกันได้ด้วยพฤติกรรมสุขภาพเหล่านี้
  • จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่สำหรับเด็ก
  • จะใช้งานร่างกายกินสมดุลอาหารสุขภาพและหลีกเลี่ยงโรคอ้วน
  • เรียนรู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับที่เกี่ยวกับไวรัสตับและมะเร็งปากมดลูก
  • หลีกเลี่ยงการไปตากแดด
จาก 2008-2011, แต่ละปีจะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่แตกต่างกัน :
  • 2008 --  ให้เด็กและเยาวชนสภาพแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่
  • 2009 -- ส่งเสริมการดำเนินชีวิตที่สมดุลพลังงานบนพื้นฐานของอาหารสุขภาพและการออกกำลังกาย
  • 2010 -- เรียนรู้เกี่ยวกับวัคซีนจากไวรัสที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (เช่นวัคซีน HPV)
  • 2011 -- สอนเด็กและเยาวชนเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสรังสียูวีโดยเป็น"ดวงอาทิตย์สมาร์ท"

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

คำถามสำหรับ chemo noticias ฉบับที่ 2/2554

1. Endoxan stock  ไว้ที่ห้องยาในกี่ขวด
2. จงบอกวิธีรักษาพิษพาราวคอท มา 1 ข้อ
3. ความเข้มข้น Endoxan ที่เตรียม
4. จงบอกชื่อ web หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อ

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

จากใจ...ทีมงาน

ย่างเช้าเดือนที่ 2 ของปี 2554 แล้ว ทีมงานได้เผยแพร่ข่าวสารจากหน่วยเภสัชเคมีบำบัดคลินิกเล่มที่ 2 ซึ่งภายในประกอบด้วยบทความเรื่องของการใช้ยา Cyclophosphamide แก้ไขพิษจาก Paraquat และบทความที่เป็น Abstractจากการประชุมในงาน ASCO 2010 โดยลองประเดิมด้วยเรื่องของการประเมินสูตรการรักษาด้วยยาเคมีบำับัดในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมที่มี HER-2 positive ทีมงานอยากให้ผู้ที่สนใจได้ลองออ่าน หากมีข้อซักถามหรือข้อสงสัย จะโพสท์ถามในแสดงข้อคิดเห็นท้ายบทความก็ได้ และทางทีมงานจะได้เข้ามาตอบข้อสงสัยให้
จริงๆแล้วในบลอกของหน่วยฯมีส่วนที่เป็น Guestbook ซึ่งจัดทำเพื่อให้ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบล็อกของเรา ทางเราเองก็ต้องการที่จะทราบว่าผู้ที่เข้ามาเยี่ยมต้องการจะทราบเรื่องอะไรเพิ่มเติมขึ้นไปอีกทีมงานจะได้ค้นหาข้อมูลมาลงเผยแพร่ได้ ส่วนของการแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นกติกาของทางผู้ให้บริการบล็อกว่าผู้ที่จะแสดงความคิดเห็นได้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ Blogspot.com ด้วย ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

Issue 2/2011



การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษพาราควอท (Paraquat)
              พาราควอทเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicide) จัดอยู่ในกลุ่ม bipyridyl มีสมบัติ เป็นของเหลวสีน้ำเงินเข้ม มีรสเผ็ด, ขม และมีกลิ่นฉุน สลายตัวที่ 300  องศาเซลเซียส ไม่ระเหย ที่ความเข้มข้นสูงสามารถกัดกร่อนโลหะ, ดีบุก, สังกะสีและอะลูมิเนียมได้ ละลายได้ดีในน้ำ แต่ละลายได้น้อยในแอลกอฮอล์และไม่ละลายในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์อื่น ๆ มีความคงทนดีในภาวะกรด หรือภาวะเป็นกลาง แต่จะสลายตัวได้ง่ายในภาวะด่าง ถูกทำลายให้เสื่อมฤทธิ์เมื่อถูกแสงอุลตร้าไวโอเล็ต, สารที่มีพื้นผิวเป็นประจุลบและดินเหนียว ชื่อการค้ามักลงท้ายด้วย Xone เช่น Gramoxone
กลไกการเป็นพิษ  
  กลไกที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ แต่สมมติฐานที่เชื่อว่าจะเป็นไปได้คือ พาราควอทถูก reduce โดยอ็อกซิเจน เกิด Superoxide radical (O2) หลังจากนั้นโดยเอ็นซัยม์ Superoxide dismutaseจะทำให้Superoxide radical ทำปฏิกิริยากับน้ำเกิด H2O2(Hydrogen peroxide). Superoxide radical และ H2O2 จะออกฤทธิ์ไปทำลายผนังเซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
อาการแสดง
หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับสารพาราควอทเข้าไปในร่างกายแล้ว ผู้ป่วยมักมีอาการอาเจียน เนื่องจากในปัจจุบันสารพาราควอทที่ขายตามท้องตลาดมียาทำให้อาเจียนผสมอยู่ด้วย เพื่อลดการเป็นพิษของสารนี้ เมื่อผู้ป่วยกินพาราควอทเข้มข้น จะมีอาการแสบร้อนในช่องปาก ทางเดินอาหารอักเสบ เนื่องจากฤทธิ์ในการกัดของพาราควอท คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย ท้องร่วงซึ่งบางครั้งอาจมีเลือดปนออกมา กระสับกระส่าย เลือดกำเดาไหล หายใจขัด เบื่ออาหาร หัวใจเต้นเร็ว ผิวหนังคล้ำ ระบบหายใจล้มเหลว เซลล์ตับและไตถูกทำลายและตายในที่สุด
การรักษา    
การปฏิบัติในโรงพยาบาล แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
1. ป้องกันการดูดซึมทางลำไส้
 
2. เร่งการขับถ่ายออกจากเลือด 
3. ป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย โดยงดให้อ๊อกซิเจน
        ในปัจจุบันทางศูนย์พิษวิทยาแนะนำให้ใช้ regimen รักษาพิษจากพาราควอทดังนี้
1. Cyclophosphamide 5 mg/kg/day  ทางหลอดเลือดดำ แบ่งให้ทุก 8 ชั่วโมง (เตรียมที่หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อ)
2. Dexamethasone 10 mg IV ทุก 8 ชั่วโมง
3. Vitamine C (500 mg/amp) 6 gm/day  ทางหลอดเลือดดำ
4. Vitamine E (400 IU/tab) 2 tabs วันละ4 ครั้ง
หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อกลุ่มงานเภสัชกรรมได้เตรียม Cyclophosphamide IV  ที่ความเข้มข้น 1 mg/ml ใน 0.9% NSS ปริมาตร 100 ml สำรองจ่ายไว้ที่ห้องจ่ายผู้ป่วยในหมายเลข 41 
วิธีเก็บรักษา : เก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2–8 Co     เก็บไว้ได้นาน 1 เดือน
เอกสารอ้างอิง
1. สมิง เก่าเจริญ. ภาวะเป็นพิษจาก paraquat. ใน: สมิง เก่าเจริญ, บรรณาธิการ. หลักการวินิจฉัยและรักษาภาวะเป็นพิษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พิษวิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี;  เมษายา- มิถุนายน 2548:13(2). 17-19.
2. Trissel LA . Handbook on injectable drugs. 12 th ed. American society of health–system pharmacists. 2002:381-88.
ออกโดย หน่วยผลิตยาปราศจากเชื้อ (ชั้น 10  Tel. 4001, 4004)  กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.สวรรค์ประชารักษ์


From ASCO Metting 2011
Phase II study of trastuzumab, docetaxel, and bevacizumab as first-line therapy in HER2-positive metastatic breast cancer.
Sub-category:
Category:Systemic Therapy
Session Type and Session Title:General Poster Session A
Abstract No:284
Author(s):B. Ramaswamy, S. Viswanathan, S. Carothers, L. Wei, R. M. Layman, E. Mrozek, S. Puhalla, R. R. Tubbs, C. L. Shapiro; The Ohio State University, Columbus, OH; James Cancer Institute and Solove Research Institute, Columbus, OH; The Ohio State University Medical Center, Columbus, OH; University of Pittsburgh Medical Center, Pittsburgh, PA; Cleveland Clinic, Cleveland, OH

Abstract:
Background:
ข้อมูลก่อนและหลังทางการแพทย์สนับสนุนในการรักษาโดยใช้  VEGF-targeted  ด้วยยา trastuzumab ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายที่มียีน HER2  ดังนั้นทำศึกษาเพื่อดูความปลอดภัยและ progression free survival (PFS) ของยา trastuzumab (T), bevacizumab (B) และ docetaxel (D) เมื่อเทียบกับ first line ที่ใช้รักษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย (MBC) ที่มียีน HER 2
Methods:
ผู้ป่วยที่คัดเข้าร่วมการศึกษา
1. ต้องเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายที่มียีน HER 2
2. มีค่า ECOG performance status 2 และ  
3.  ไม่เคยได้รับยาเคมีบำบัดสำหรับ MBC มาก่อน , โดยผู้ป่วยจะได้รับยา T (6 mg/kg), B (15 mg/kg) และ D (เริ่มด้วย 100 mg/m2 , ตามด้วย 75 mg/m2)  ในวันที่ 1 (รอบละ 21 วัน) สำหรับ  6 cycles แล้วตามด้วยยา D  จนครบ และผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยยา T และ B อย่างเดียวเพื่อดูผลประโยชน์จากยา, ประเมินการตอบสนองทุก 3 cycles และทำการวัดการแพร่กระจายของมะเร็งและ endothelial cells (CTC/ CECs) ในวันที่ 1 และวันที่  22
Results :
สรุปท้ายสุดมีผู้ป่วยเข้าร่วมทั้งหมด 14 ราย  โดยมีผู้ป่วย  7 ราย(50%) ที่มี estrogen/progesterone  เป็น negative และ 13 ราย(93%) มีการแพร่กระจายเข้าไปสู่เส้นเลือด , การศึกษานี้มีค่าเฉลี่ยจำนวน cycles ของการรักษาอยู่ที่ 7  cycles ผู้ป่วย 7 ราย ให้ยาเคมีบำบัดแบบ combination และการรักษาแบบ biological alone จนครบสมบูรณ์  โดยผู้ป่วย 4 รายแรกได้รับ ยา  D ขนาด 100 mg/m2  และมีผู้ป่วย 2 ราย มีอาการเหนื่อยที่ระดับ 3 (Gr) ซึ่งการศึกษาได้ปรับลดขนาดยา D เป็น 75 mg/m2 , ความเป็นพิษที่ระดับ 3 และ 4 ทั้งหมด ซึ่งมี อาการเหนื่อย 36% และอาการคลื่นไส้ 14% , มีผู้ป่วย 1 รายที่มีอาการอื่นๆ อีก ท้องเสีย (diarrhea) , wound dehiscence, retinal edema, pulmonary embolism, neuropathy และ nephrotic syndrome และมีผู้ป่วย 2 ราย มีอาการที่ระดับ 2 (Gr) คือ hypertension, มีผู้ป่วยเพียงแค่หนึ่งรายที่มีความผิดปกติ (Gr2)ที่ left ventricular ejection fraction หลังจากให้ยาเคมี 3 cycles (จาก 57% เป็น 45%) , ค่าเฉลี่ย progression free survival (PFS) คือ 55.9 สัปดาห์ , มีผู้ป่วย 8 รายที่เป็น partial response (57%) และอีก 4 ราย stable disease (29%) สำหรับผู้ป่วยอีก 2 รายมีค่า SD  มากกว่า 12 เดือน   โดยเริ่มประเมินการแพร่กระจายของมะเร็งและ  endothelial cells (CTC/ CECs) หลังจาก cycle 1 จนครบกำหนด ถ้าผู้ป่วยสามารถทำนายการตอบสนองได้
Conclusions:
การรักษาแบบ combination สำหรับยา D , T และ B ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย และทนต่อยาได้ดี โดยเฉพาะ ระดับที่ 3 หรือ 4 ที่เป็นพิษต่อหัวใจ