วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis)


เยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis)

          ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ (Stomatitis) จะมีอาการเยื่อบุช่องปากบวมแดง มีแผลในช่องปาก ปวดที่แผล มีกลิ่นปาก น้ำลายออกมาก เคี้ยวและกลืนอาหารได้ลำบาก บางครั้งอาจพบปัญหาการหายใจลำบากเนื่องจากมีเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ รวมทั้งอาจมีอาการเหงือกและลิ้นมีฝ้าขาวจากเชื้อรา สามารถแยกชนิดตามสาเหตุการเกิด ได้ดังนี้
1. Contact stomatitis คือการเกิดปฏิกิริยาไวเกินของเยื่อบุในปากต่อสารกระตุ้นที่สัมผัส สาเหตุที่พบบ่อยคือ ยาสีฟัน ยาอมบ้วนปาก ยาอมฆ่าเชื้อ ลิปสติก สารปรุงแต่งในอาหาร และหมากฝรั่ง อาจเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสระยะเวลาเพียงไม่กี่วันจนถึงปี
2. Ulcerative stomatitis หรือ Mucositis คือการเกิดแผลเปื่อยในช่องปาก อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างรับยา cytotoxic drug ได้แก่ยา Epirubicin(9-59%), doxorubicin(5-41%), Docetaxel(19-53%), Capecitabine(22-25%), Topotecan(18%), Paclitaxel(15%), Gemcitabine(10-14%), Methotrexate(>10%), Fluorouracil, Daunorubicin(>10%), Cyclophosphamide(>10%), Vinblastine(less common) และ Carboplatin(1%) นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากยาอื่นๆ เช่น NSAIDs, gold compound และ sulfasalazine แต่มักจะหายไปโดยเร็วเมื่อหยุดใช้ยา
3. การติดเชื้อ เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ เชื้อไวรัส Herpes simplex และเชื้อรา Candida albican พบในผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นโรคมะเร็งเม็ดเลือด หรือผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัด เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
4. Denture stomatitis พบได้ 24-60% ในผู้ที่ใส่ฟันปลอม อาการคือมีเลือดออกและบวมที่เยื้อเยื่อรองรับฐานฟันปลอม รู้สึกปวดแสบปวดร้อน ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น ปากแห้ง และการรับรสไม่ดี
การรักษา
-    ทำความสะอาดช่องปากด้วยน้ำเกลืออ่อนๆ หรือ sodium bicarbonate solution
-    ยาระงับปวดเฉพาะที่ (topical anesthetic) ได้แก่ 0.15% Benzydamine hydrochloride-Difflam หรือ 2% viscous
lidocain อมกลั้วปาก หรือ 5% Lignocaine ointment ทาบริเวณแผล หรือ Benzocaine lozenges ใช้อม
-    สเตียรอยด์แบบทาเฉพาะที่ (topical steroids) ได้แก่ 0.1% triamcinolone acetonide cream or ointment
ทาวันละ
3 ครั้ง หลังอาหาร
-    ยาต้านเชื้อไวรัสเฉพาะที่ (topical antiviral agents) ได้แก่ 5% Acyclovir ointment ทาแผลวันละ 5 ครั้ง
-    ยาต้านเชื้อราเฉพาะที่ (topical antifungal agents) ได้แก่ Nystatin oral suspension (100,000 U/ml) อมกลั้วปาก 2-5 ml นาน 2 นาที วันละ 4 ครั้ง แนะนำให้ใช้นาน 10-14 วัน
          เอกสารอ้างอิง
1.    Chisholm MA, Wells BG, Schwinghammer TL, Malonep PM, Kolesar JM, Rotschafer JC, et al. Pharmacotherapy principle & practice. United States of America: McGraw-Hill; 2008.
2.    Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook with international trade names index. 19th ed. Ohio: Lexi-comp; 2010-2011.
3.    ธิติมา  วัฒนวิจิตรกุล, นารัต เกษตรทัต, สมฤทัย ระติสุนทร, สาริณีย์ กฤติยานันต์, สิริพรรณ พัฒนาฤดี, สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์.
คู่มือการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาศูนย์ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
4.    คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. ประเทศไทย: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2010. Untitled document; [16 มิถุนายน 2530]; 2 หน้า.
ที่มา:
http://nu.kku.ac.th/site/250262/nursing2/nursing1.htm
5.    ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. แนวทางการรักษาโรคของเนื้อเยื่ออ่อนที่พบบ่อยในช่องปาก [อินเทอร์เน็ต]. ประเทศไทย: ทันตแพทยสภา;1998 [วันที่อ้างถึง 16 มิถุนายน 2554]. ที่มา: www.dentalcouncil.or.th/public_content/cpg/13.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น