วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เห็ดหลินจือกับสรรพคุณในการต้านมะเร็ง


เห็ดหลินจือกับสรรพคุณในการต้านมะเร็ง
เห็ดหลินจือ มี ชื่อวิทยาศาสตร์ Ganoderma Lucudum. ชื่ออังกฤษ Reishi,  Ling  Zhi. ชื่อท้องถิ่น เห็ดหลินจือ ,เห็ดหมื่นปี หรือ เห็ดหิมะ (1) เห็ดหลินจือมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในป่าเขาของประเทศจีน ตามประวัติเห็ดหลินจือเป็นยาจีน (Chinese traditional  medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี โดยชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจือ  อย่างเหนือชั้นว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีนนอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่าแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีนักวิชาการหลายประเทศได้ทำการวิจัย เห็ดหลินจืออย่างกว้างขวาง มีเอกสารวิชาการที่เผยแพร่ออกมามากกว่าร้อยฉบับ ทั้งด้านการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี สารออกฤทธิ์ สรรพคุณทางยา มีการทดลองในห้องปฏิบัติการและรายงานเชิงสถิติทางการแพทย์ในการรักษาโรค ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็ง และจากการทดสอบพิษวิทยาพบว่าเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยในการบริโภค  
Ø  สาระสำคัญและกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของเห็ดหลินจือ (2,3)
จากการศึกษาวิจัยพบว่าน้ ามันภายในสปอร์ของเห็ดหลินจือมีสารออกฤทธิ์สำคัญสะสมเข้มข้นมากที่สุด ซึ่งสารดังกล่าวนั้น ได้แก่ สาร  polysaccharides และ  triterpenoids โดยสาร
polysaccharides จะเป็นสารประกอบน้ำตาลเชิงซ้อนหลายชนิดโดยเฉพาะ beta-D-glucan จะเป็นตัวที่ออกฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็งโดยออกฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จึงมีฤทธิ์โดยทางอ้อมในการต่อต้านมะเร็ง อย่างไรก็ตามการค้นคว้าวิจัยในระยะหลังมุ่งเน้นการศึกษาไปที่สาร triterpenoids โดยเฉพาะ ganoderic acid ซึ่งมีการออกฤทธิ์ในการยับยั้งการลุกลามของมะเร็งโดยตรง  ทั้งนี้กลไกการออกฤทธิ์นั้นเป็นไปอย่างซับซ้อนและมีหลายกลไกทำงานร่วมกัน ซึ่งกลไกหลักๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
การออกฤทธิ์ที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งโดยตรง จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสาร triterpenoids ออกฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งโดยตรงได้หลายชนิด (ในขณะที่สาร polysaccharides ไม่แสดงคุณสมบัติดังกล่าว ) ดังนี้ สาร ganoderic acid U, V, W, X, Y และ Z ซึ่งสารทั้ง 6 ชนิดนี้ มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นในตับได้อย่างแรง , สาร ganoderic acid Me มีฤทธิ์ยับยั้งการกระจายตัวของมะเร็งปอด, สาร ganoderic acid T มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งปอด, สาร ganoderic acid D มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็งปากมดลูก, สาร ganoderic acid A, F และ H มีฤทธิ์ยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านม และสาร  lucidenic  acids  A,  B,  C  และ N มีฤทธิ์ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังพบว่าสารกลุ่ม triterpenoids เสริมฤทธิ์ของ  doxorubicin ในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง โดยเพิ่ม oxidative stress ทำให้ DNA damage และเกิดการ apoptosis ในที่สุด 
การขัดขวางปฏิกิริยา oxidation  อันตรายที่สำคัญที่เกิดจากเซลล์มะเร็งคือการทำลาย  DNA จากปฏิกิริยา oxidation และหาก DNA ที่ถูกทำลายดังกล่าวเกิดการแบ่งตัวต่อไปก่อนที่ร่างกายจะสามารถซ่อมแซมให้  กลับมาเป็นปกติจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นสารก่อมะเร็งอย่างถาวร  ซึ๋งจากการวิจัยพบว่าสาร triterpenoids ที่สกัดจากเห็ดหลินจือสามารถกำจัดสารอนุมูลอิสระและยับยั้งปฏิกิริยา oxidation
การรออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการขยายตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง  เมื่อเซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้นจำเป็นต้องมีเส้นเลือดไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น เซลล์มะเร็งจะปล่อยสารกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด  ทำให้การขยายตัวของเซลล์มะเร็งเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว จากการวิจัยพบว่าสาร triterpenoids กลุ่ม ganoderic acid F จะยับยั้งการขยายตัวของมะเร็งในระยะแรกในตับและม้าม และยับยั้งการลุกลามของมะเร็งในระยะที่สองในตับของหนูทดลองที่มีการปลูกถ่ายเซลล์มะเร็งชนิด  Lewis  lung  carcinoma  ซึ่งจากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่าสาร triterpenoids อกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการขยายตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งได้
การยับยั้งการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็ง  จากการทดลองกับเซลล์มะเร็งตับชนิด  Huh-7  พบกว่าสาร triterpenoids ชนิด ganoderic acid สามารถลดการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ไม่มีผลต่อเซลล์ตับปกติสารจากการที่ไปยับยั้งการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็งไม่ให้เกิดการแบ่งเซลล์  สำหรับสารกลุ่ม polysaccharides จากการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่าไม่ได้มีผลทำให้เซลล์ตายแบบ  apoptosis แต่มีผลเหนี่ยวนำให้ macrophage หรือ T  lymphocyte หลั่ง TNF-alfa และ IFN-gramma  ซึ่งเป็นสารสื่อที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จากฤทธิ์การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และยังสามารถยับยั้งการเกาะติดของเซลล์มะเร็ง
กับเซลล์ HUVECs (human umbilical cord vascular endothelium cells) ได้และนอกจากนี้สารกลุ่ม polysaccharides สามารถลดพิษจากการใช้ยา cyclophosphamide ในการรักษาและการฉายรังสีด้วยโคบอลท์ 60 ในหนูได้ จึงน่าจะนำมาใช้เป็น cancer chemopreventive ได้  
          การทดลองทางคลินิกจากการรวบรวมงานวิจัยโดย 
Sliva D. ในด้านการศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็งและการรักษามะเร็งในเอเชียถึงการนิยมรับประทานเห็ดหลินจือส่วนใหญ่ได้มีการนำมาใช้กับโรคมะเร็งและเชื่อมโยงไปยังการมีอัตราการตายที่ต่ำกว่า โดยเห็ดหลินจือจะไปยับยั้งปัจจัยในการถอดรหัส  คือ factors NF – kB และ AP - 1 ที่เป็นเป้าหมายของการรักษาโรคมะเร็งเนื่องจาก NF – kB ควบคุมการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องในการยึดเกาะของเซลล์ , การเคลื่อนที่และการแพร่กระจาย (UPA, UPAR) โปรตีนที่ปกป้องการตายของเซลล์ (Bcl-2, BclXL) โดยการยับยั้ง NF – kB นี้จัดเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกันและการรักษาโรคมะเร็ง 
          จากการศึกษาของ
Jiang J และคณะ (6) ศึกษาถึงส่วนที่มีการต้านมะเร็งของเห็ดหลินจือ   (Ganoderma lucidum) ซึ่งพบว่าการที่มีโครงสร้างของ  triterpene อยู่ ได้แก่ ganoderic และ lucidenic acids สามารถออกฤทธิ์ต้านมะเร็งได้โดยตรงโดยในการศึกษานี้จะแสดงถึง  ganodermanontriol  (GDNT)  ซึ่งเป็น  Ganoderma alcohol ซึ่งจะไปยับยั้งการแบ่งตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (anchorage-dependent growth) และการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโคโลนี (anchorage-independent growth) ของเซลล์ MDA-MB-231 ที่พบอยู่ในมะเร็งเต้านมระยะลุกลามสูง โดยที่ GDNT ยับยั้งการแสดงออกของวัฏจักรเซลล์ซึ่งถูกก ากับดูแลโดยโปรตีน  CDC20 ซึ่งมันจะมีการแสดงออกที่มากขึ้น ในเซลล์ก่อนเป็นมะเร็งและเซลล์มะเร็งเต้านม โดย GDNT ยังยับยั้งพฤติกรรมการแพร่กระจาย  (เช่น การยึดเกาะของเซลล์ การเคลื่อนย้ายของเซลล์ และการรุกรานของเซลล์ ) ผ่านทางการยับยั้งการหลั่งของ urokinase-plasminogen activator (uPA) และยับยั้งการแสดงออกของ uPA receptor
          จากการศึกษาของ Martínez-Montemayor MM และคณะ4 โดยทำการศึกษาในเซลล์มะเร็งเต้านมอักเสบ หรือเซลล์ Inflammatory breast cancer (IBC) โดยทำการศึกษาถึงมะเร็งเต้านมอักเสบ โดยธรรมชาติของการเกิด IBC นี้จะมีการลุกลามไปที่ระบบต่อมน้ำเหลืองและเป็นระยะที่ไม่สามารถคลำก้อนมะเร็งได้อย่างชัดเจน โดยเซลล์  IBC จะลุกลามโดยก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปร่างก้อนมะเร็งเป็นทรงกลมและมีการเกาะของ E-cadherin-based cell–cell อยู่โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเห็ดหลินจือมีการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งอย่างเฉพาะเจาะจงแต่ไม่มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของเซลล์เยื่อบุผิวเต้านมที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง  เห็ดหลินจือยังยับยั้งการลุกลามและขัดขวางการเกิดเซลล์ทรงกลม ซึ่งเป็นลักษณะของเซลล์ IBC ที่มีระยะแพร่กระจาย นอกจากนี้เห็ดหลินจือยังลดการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของเซลล์มะเร็งและการแพร่กระจายซึ่งได้แก่ ยีน BCL-2, TERT, PDGFB และลดการแสดงออกของยีนของการลุกลามและแพร่กระจาย คือ ยีน MMP - 9 และเห็ดหลินจือยังลดจำนวนยีน  Bcl - 2, Bcl – xL ซึ่งเป็นยีนในกลุ่มต่อต้านการตายของเซลล์มะเร็ง
          อย่างไรก็ตาม เห็ดหลินจือเป็นเพียงส่วนหนึ่งในพืชสมุนไพรหลายอย่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  ไม่สามารถที่จะรักษาอาการป่วยได้ทุกโรค การใช้จึงควรมีวิจารณญาณ มีเหตุมีผล มีความรู้ ความเข้าใจ สรรพคุณและวิธีการใช้ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง และติดตามผลอย่างใกล้ชิดทั้งนี้เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย หรือผู้บริโภคอย่างแท้จริง 
เอกสารอ้างอิง
1. เต็ม สมิตินันท์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย(ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง; 2544.
2. LIU GQ, DING CY, WANG XL. Mechanisms of anticancer action of triterpenoids from Ganoderma Lucidum :
A review of recent researches. Mycosystema. 2007; 26(3):470-76.
3.  กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. เห็ดหลินจือ...จากการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์. กรุงเทพมหานคร:
กระทรวงสาธารณสุข; 2553
4. Martínez-Montemayor MM, Acevedo RR, Otero-Franqui E, Cubano LA, Dharmawardhane SF.
Ganoderma lucidum (Reishi) inhibits cancer cell growth and expression of key molecules in inflammatory b
reast cancer. Nutr Cancer. 2011 Oct; 63(7): 1085-94.
5. Sliva D.Ganoderma lucidum (Reishi) in cancer treatment. Integr Cancer Ther. 2003 Dec; 2(4): 358-64.
6. Jiang J, Jedinak A, Sliva D. Ganodermanontriol (GDNT) exerts its effect on growth and invasiveness of breast
cancer cells through the down-regulation of CDC20 and uPA. Biochemical and Biophysical Research
Communications. 2011; 415: 3259.