วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Antioxidants and Cancer Prevention

Antioxidants and Cancer Prevention
Antioxidants คืออะไร(1)
Antioxidants เป็นสารที่ปกป้องเซลล์จากการทำลายโดยโมเลกุลที่ไม่เสถียร หรือรู้จักกันในชื่อของ อนุมูลอิสระ (free radicals) ซึ่งการทำลายเซลล์ของ free radical นั้นสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้น antioxidants หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สารต้านอนุมูลอิสระ สามารถยับยั้งการถูกทำลายของเซลล์จากอนุมูลอิสระได้ สารต้านอนุมูลอิสระมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น beta-carotene, lutein, Selenium, vitamin A, C, E และ zinc เป็นต้น
Antioxidants สามารถป้องกันมะเร็งได้จริงหรือไม่(1)
เมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางห้องปฏิบัติการ การเพาะเชื้อ และการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่า antioxidants อาจจะป้องกันหรือชะลอการดำเนินไปของโรคมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามข้อมูล clinical trial ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ชัดเจนมากนัก
Antioxidants สามารถป้องกันมะเร็งได้อย่างไร (1)
Antioxidant ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระ (free radical) เป็นโมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนวงนอกไม่ครบจึงไม่เสถียร และสามารถทำปฏิกิริยาได้มากกว่าโมเลกุลที่เสถียร ทำให้ต้องไปแย่งอิเล็กตรอนจากโมเลกุลตัวอื่น จึงส่งผลต่อเซลล์ภายในร่างกายได้ ซึ่งอนุมูลอิสระนั้นสามารถพบได้จากสิ่งแวดล้อมรวมถึงควันบุหรี่ ในมนุษย์รูปแบบสารอนุมูลอิสระที่พบได้มากสุด คือ ออกซิเจน(O2) ซึ่งโมเลกุลออกซิเจนที่มีประจุพยายามแย่งอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่น จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการทำลาย DNA และโมเลกุลอื่นๆและนำมาซึ่งโรคมะเร็งได้  ดังนั้น Antioxidant จึงเรียกว่า mopping up free radical หมายถึงตัวที่ทำให้อนุมูลอิสระไม่มีประจุอิเล็กตรอนและป้องกันอนุมูลอิสระในการแย่งชิงอิเล็กตรอนจากโมเลกุลตัวอื่น
Antioxidant สามารถพบได้ในอาหารประเภทใดบ้าง(1,2)
Antioxidant สามารถพบได้มากในผักและผลไม้รวมถึงถั่ว ธัญพืช เนื้อหมู ไก่ ปลา แบ่งเป็นประเภท ดังนี้
v  Beta-carotene ซึ่งพบได้มากในอาหารหลายชนิดที่มีสีส้มรวมถึงมันเทศ แครอท ผักใบเขียวบางชนิด เช่น ผักโขม คะน้า ซึ่งมี beta-carotene มาก
v  Lutein ซึ่งเป็นที่ทราบว่ามีความสำคัญต่อสุขภาพตา ซึ่งพบมากในผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า เป็นต้น
v  Lycopene พบมากในมะเขือเทศ แตงโมฝรั่ง มะละกอ แอปริคอท เป็นต้น
v  Selenium พบมากในอัลมอนด์ เห็ดต่าง ๆ กระเทียม ส้ม องุ่น  กะหล่ำปลีและหัวผักกาด เป็นต้น
v  Vitamin A เช่น vitamin A 1 (retinol), vitamin A 2 (3,4-didehydroretinol) และ vitamin A 3 (3-hydroxy-retinol) อาหารที่สามารถพบ vitamin A 3 ได้มาก เช่น ตับ มันเทศ นม ไข่แดง  เป็นต้น
v  Vitamin C หรือ ascorbic acid พบมากในผักและผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะผักสด ใบส่วนยอดและเมล็ดที่กำลังจะงอก ได้แก่ ฝรั่ง มะขามป้อม ยอ และมะรุม เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบในเนื้อวัว ไก่ ปลาด้วย
v  Vitamin E หรือที่รู้จักในชื่อ alpha-tocopherol พบมากในอัลมอลล์ น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง และยังสามารถพบในมะม่วง ถั่ว บล็อกเคอลี่ เป็นต้น
v  สังกะสี  (Zinc) มีส่วนสำคัญในกระบวนผลิตสารพันธุกรรม (RNA และ DNA)  ช่วยให้ร่างกายจับวิตามินเอไว้ในกระแสเลือด  พบมากในขิง  เมล็ดฟักทอง  กะหล่ำปลี  แครอท  แตงกวา  และส้ม เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรอื่น ๆที่มีฤทธิ์ในการต้านเซลล์มะเร็ง เช่น พริกไทย ใบแป๊ะก๊วย  เกากีจี้  โสมเกาหลี  หญ้าปักกิ่ง  และเห็ดหลินจือ เป็นต้น
ตัวอย่างการศึกษาทางคลินิกถึงผลของ antioxidant ต่อโรคมะเร็ง
1.จากรายงานการศึกษาของ Lippman SM และคณะ(3) ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อทดสอบว่าการได้รับ Selenium, Vitamin E สามารถป้องกันการเกิด Prostate Cancer ได้หรือไม่ โดยทำการศึกษาแบบ randomized, placebo-controlled trial ในอาสาสมัครชายสุขภาพดีที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปจำนวน 35,533 ราย ที่ไม่น่าสงสัยว่าจะเป็น prostate cancer ซึ่งผลการศึกษาทดลองพบว่า การใช้ selenium หรือ vitamin E เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกัน ในขนาดและรูปแบบที่ใช้ในการศึกษา ไม่สามารถป้องกันการเกิด prostate cancer ในอาสาสมัครผู้ชายได้
2.จากรายงานการศึกษาของ Gaziano JM และคณะ(4) เพื่อทดสอบว่าการใช้ Vitamins E และ Vitamins C แบบ long term สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งอื่นๆในผู้ชายได้หรือไม่ โดยทำการศึกษาแบบ randomized, double-blind, placebo-controlled factorial trial เป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี ในอาสาสมัครแพทย์เพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า การใช้ vitamin E และ vitamin C supplementations สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งอื่นๆ ได้
3.จากการศึกษาแบบ systematic review และ meta-analysis ของ Bardia A และคณะ(5) พบว่า
v  Beta carotene  มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งในผู้ที่สูบบุหรี่  และเพิ่มแนวโน้มการเสียชีวิตจากมะเร็ง
v  Selenium มีความสัมพันธ์กับการลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งในผู้ชาย แต่ไม่มีผลต่อผู้หญิง และสามารถลดการเสียชีวิตจากมะเร็งได้
v  Vitamin E ไม่มีผลต่อการเกิดอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็ง การเสียชีวิตจากมะเร็ง
4.จากรายงานการศึกษาของ Bairati I และคณะ (6) พบว่าหลังจากใช้เวลาศึกษาติดตามผู้ป่วย head และ neck cancer stage I หรือ II เป็นระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 52 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบผู้ที่ได้รับ α – tocopherol กับผู้ที่ได้ยาหลอก พบว่าผู้ป่วย ที่ได้รับ α – tocopherol มีอัตราการเกิด second primary cancer ระหว่างช่วงที่ได้รับ α – tocopherol สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก แต่หลังจากที่หยุด α – tocopherol แล้วพบว่ามีอัตราการเกิด second primary cancer ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
  สรุป
ปัจจุบันนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมาก โดยเฉพาะพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ผู้คนทั่วไปหรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือเป็นมะเร็งอยู่แล้วควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยผู้ป่วยมะเร็งควรดูแลตัวเองเป็นพิเศษ ควรเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายดังที่กล่าวมา แม้ว่าการเลือกรับประทานดังกล่าวจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งหรือไม่ให้ลุกลามมากขึ้น แต่ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหรือมีชีวิตที่ยาวนานขึ้นได้

Reference :
1.        Antioxidants and Cancer Prevention: Fact Sheet. U.S. Department of health and human services. National Institutes of Health. 2004
2.        วันเพ็ญ  บุญสวัสดิ์. พืช  ผัก  ผลไม้ สมุนไพร  ต้านมะเร็ง [homepage on the Internet]. Data unknown [cited 2011 Aug 25]. Available from: http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=79&typeID=19
3.        Lippman SM, Klein EA, Goodman PJ, et al. Effect of selenium and vitamin E on risk of prostate cancer and other cancers: the Selenium and Vitamin E Cancer Prevention Trial (SELECT). JAMA. 2009;301(1):39-51.
4.        Gaziano JM, Glynn RJ, Christen WG, et al. Vitamins E and C in the prevention of prostate and total cancer in men: the Physicians’ Health Study II randomized controlled trial. JAMA. 2009;301(1):52-62.
5.        Bradia A, Tleyjeh M, Cerhan JR.Sood AK, Limburg PJ,Erwin PJ et al. Efficacy of Antioxidant Supplementation in Reducing Primary Cancer Incidence and Mortality: Systematic Review and Meta-analysis. Mayo Clin Proc. 2008;83(1):23-34.
6.        Bairat I, Meyer F, Gélinas M, Fortin A, Nabid A, Brochet F et al. A Randomized Trial of Antioxidant Vitamins to Prevent Second Primary Cancers in Head and Neck Cancer Patients. J Natl Cancer Inst. 2005;97(7):481-8.